นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำบอกว่า เด็กเล่นเกมคอมพิวเตอร์มากเกินไปจนกลายเป็นติด เป็นเป็นอันตรายต่อการพัฒนาจิตใจของเด็ก อาจเป็นข้อสงสัยสำหรับผู้ปกครองในเรื่อง การใช้เวลามากเกินไปการ เล่น วิดีโอเกม เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ทำร้ายลูกหรือไม่ คำตอบคือใช่ เล่นเกมมากเกินไปอาจมีผลกระทบต่อเด็ก และเด็กที่ใช้เวลามากเกินไปที่คอมพิวเตอร์จะหายไปจากกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาทางปัญญา, อารมณ์และสังคม เพราะเสียเวลาที่ใช้ในกับหน้าจออิเลคทรอนิคส์เกมคอมพิวเตอร์

เด็กๆที่มักเล่นวิดีโอเกมเพียงอย่างเดียวและใช้เวลามากเกินไปใช้เวลาอยู่คนเดียวอาจทำให้เกิดการแยกทางสังคมเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาเวลาที่เด็กของท่านใช้เวลาใน ด้านหน้าของ หน้าจออิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งทีวี, คอมพิวเตอร์, เครื่องเล่นวิดีโอและจอภาพยนตร์ นิสัยที่ไม่ดีบางอย่าง จะค่อยๆฝังในจิตใจของเด็กๆ และมันจะเป็นเรื่องยากมากขึ้นที่จะเปลี่ยนให้คืนโดยเร็ว เช่นนิสัย เริ่มกร้าวร้าว นิสัยเอาแต่ใจ ไม่พูดไม่จากับคนอื่น หรือแม้แต่กับพ่อแม่เอง

จากผลการวิจัยจากหลายประเทศ หลายกลุ่ม ได้ผลสรุปว่า เด็กที่เล่นเกมประเภทการใช้ความรุนแรงบ่อยๆ มีความเสี่ยงจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้เกมบางเกมส่งเสริมอคติทางเพศและ พฤติกรรมทางเพศที่ขาดความรับผิดชอบ จนบางประเทศห้ามจำหน่ายเกมบางเกมที่เป็นประเภทนี้

แต่วิดีโอเกมและคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งหมด เกมที่มีคุณภาพให้เด็กมีโอกาสที่จะฝึกการแก้ปัญหาและทักษะตรรกะ ของพวกเขาช่วยปรับทักษะ การชี้นำสนับสนุนให้ความสนใจในเทคโนโลยี สารสนเทศจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อพ่อแม่

ถ้าหากท่าน ทางออกที่ดีสำหรับเด็กติดเกมส์คือ จำกัดการเล่นเกมคอมพิวเตอร์หรือวิดีโอเกมส์ บางประเภท และเลือกประเภทของเกมส์ให้เหมาะสม และจำกัดเวลาในการเล่นแต่ละ วัน คือพ่อแม่หรือผู้ปรกครองจะต้องเป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาด และเลือกประเภทของเกมสำหรับเด็กให้ถูกต้อง

ปัญหาเด็กติดเกม การแก้ปัญหาเด็กติดเกม

ประเภทเกมที่ส่งเสริมการพัฒนาการของเด็กๆคือ ที่ฝึกปูพื้นฐานการเรียนรู้สำหรับเขา เช่นเกมคณิตศาตร์ เกมบวกเลข ลบเลข, เกมภาษา, เกมวาดรูป, เกม กอขอคองอ เกม A,B,C เป็นต้น ระหว่างที่เด็กอยู่หน้าจอคอม ท่านควรอยู่กับลูกตลอดเวลาเพื่อที่จะแนะนำเวลาที่เขาสงสัย และแนะนำการเล่น เมื่อเด็กๆเล่นพ่อแม่ก็จะสามารถประเมินลูกได้ ว่าเขามีพัฒนาการที่ดีขึ้นหรือไม่อย่างไร หากเด็กเล่นแล้วสนุกและมีการพัฒนาการขึ้นทุกวัน จะเป็นเรื่องที่ดีครับ

สาเหตุของการติดเกม

  • การเลี้ยงดูในครอบครัว: มักจะพบเด็กติดเกมได้บ่อยในครอบครัวที่เลี้ยงเด็กโดยไม่เคยฝึกให้เด็กมีวินัย ในตัวเอง ขาดกฎระเบียบ กติกาในบ้าน ตามใจเด็ก ครอบครัวมีลักษณะที่สมาชิก ในครอบครัวต่างคนต่างอยู่ ไม่มีกิจกรรมที่สนุกสนานให้เด็กทา หรือไม่มีกิจกรรมที่สมาชิกทุกคนทำร่วมกัน ทำให้เด็กเกิดความเหงา ความเบื่อหน่าย เด็กจึงต้องหากิจกรรมอื่น ทำเพื่อให้ตัวเองสนุก ซึ่งก็หนีไม่พ้นการเล่น เกม พ่อแม่อาจไม่มีเวลาควบคมุเด็ก หรือมองไม่เห็นความ จำเป็นที่จะต้องจำกัดเวลาในการเล่นเกมของเด็กในช่วงแรก พ่อแม่อาจรู้สึกพอใจที่เห็นเด็กเล่นเกม เงียบๆคนเดียวได้โดยไม่มารบกวนตัวเอง ให้ตนมีเวลาส่วนตัว มากขึ้น พูดง่ายๆคือใช้เกมเสมือนเป็นพี่เลี้ยงดูแลเด็กแทนตน
  • สังคมที่เปลียนแปลงไป: สังคมยุคไฮเทคที่มีเครื่องมือที่มีพลังในการเร้าความตื่นเต้นให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก อย่างมหาศาล สังคมวัตถุนิยม สังคมที่ขาดแคลนกิจกรรม หรือสถานที่ที่เด็กจะได้ใช้ประโยชน์หรือเรียนรู้ โดยได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินไปด้วย เหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้เด็กหันไปใช้การเล่นเกมเป็น ทางออก
  • ปัจจัยในตัวเด็กเอง: เด็กบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเกมมากกว่าเด็กทัว่ ไป เช่น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เด็กที่มีปัญหาอารมณ์ ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล เด็กที่ ขาดทักษะทางสังคม เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เด็กที่มีปัญหาการเรียน เด็กที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองต่า (low self-esteem) เป็นต้น

แนวทางการแก้ปัญหาเด็กติดเกม

อาจารย์ศันสนีย์ สุดประเสริฐ นักวิชการศึกษาพิเศษ 8 สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนคริทร์ ได้บอกถึงแนวทางการแก้ปัญหาว่า สิ่งสำคัญคือครอบครัว พ่อแม่ต้องเข้าใจลูก อย่าโมโหก แต่ต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดี ให้กับบรรยากาศในครอบครัวก่อน หากเราดุด่าว่ากล่าว และทำโทษลูกมาก ลูกจะกลัวพ่อแม่ บางคนจะรู้สึกเบื่อหน้าพ่อแม่ไปเลย ที่สำคัญต้องคิดตลอดว่า เวลาเข้าบ้านต้องจัดการกับอารมณ์ตนเองให้ได้ก่อน แล้วค่อย จัดการกับลูก อย่างเช่น พ่อแม่บางคนเจอหน้าลูกก็จะด่าจนเป็นปกติวิสัย ลองเปลี่ยนใหม่เวลาลูกทำผิด อย่าเพิ่งด่า ให้พูดดีด้วย เมื่อพ่อแม่เปลี่ยนตัวเองได้แล้วลูกก็จะตกใจ ทำให้อย่างน้อยเขาก็จะหยุดคิด หลังจากนั้นจึงคุย กัน และอย่าเพิ่งให้ลูกหยุดเล่นเกมส์ แต่ให้เล่นได้โดยมีข้อตกลงร่วมกัน

วิธีป้องกันเด็กติดเกม

  • คุยกับเด็กเพื่อกำหนดกติกากันล่วงหน้าก่อนจะซื้อเกม หรืออนุญาตให้เด็กเล่นว่า เด็กสามารถเล่นเกมได้ ในวันใดบ้าง วันใดเล่นไม่ได้ เล่นได้ครัง้ ละไม่เกินกี่ชัว่ โมง ตัง้ แต่เวลาใดถึงเวลาใด ก่อนจะเล่นต้อง รับผิดชอบ ทาอะไรให้เสร็จเรียบร้อยก่อนบ้าง หากเด็กไม่รักษากติกา เช่น เล่นเกินเวลา ไม่ทาการบ้านให้ เสร็จก่อน ฯลฯ เด็กจะถูกทำโทษอย่างไร แนะนาให้ใช้วิธีริบเกม หรือตัดสิทธิการเล่นเป็นเวลาระยะหนึ่งหากเด็กไม่ทำตาม กติกาที่ตกลง)
  • วางตำแหน่งคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมในสถานที่ที่เป็นที่โล่ง มีคนเดินผ่านไปผ่านมาบ่อยๆ ไม่ควรตั้งไว้ในห้องนอนหรือห้องที่ปิดมิดชิด เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้ติดตามเฝ้าดูได้ เป็นการป้องกันมิให้เด็กเก็บตัว แอบเล่นคนเดียวในห้อง หรือแอบเล่นทั้งคืน
  • วางนาฬิกาขนาดใหญ่ไว้หน้าเครื่อง หรือในตาแหน่งที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  • ให้คำชมแก่เด็กเมื่อเด็กสามารถรักษาเวลาการเล่น ควบคุมตัวเองไม่ให้เล่นเลยเวลาที่กำหนดได้
  • เอาจริง เด็ดขาดหากเด็กไม่รักษากติกา เช่น ริบเกมโดยไม่ใจอ่อน, ตั้งรหัสคอมพิวเตอร์
  • ส่งเสริม จัดหากิจกรรมที่สนุกสนานอย่างอื่น ที่สนุกพอๆหรือมากกว่าการเล่นเกม ให้เด็กทำ หรือมีกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว
  • หลีกเลี่ยงการใช้เกมเป็นเสมือนพี่เลี้ยงเด็ก เพื่อที่พ่อแม่จะได้มีเวลาส่วนตัวไปทา อย่างอื่น
  • สอนให้เด็กรู้จักการแบ่งเวลา รู้จักใช้เวลาอย่างเหมาะสม

หากพ่อแม่หรือผู้ปกครองท่านใดกำลังมีปัญหาเด็กติดเกม สามารถโทรเข้ามาปรึกษาได้ที่ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนคริทร์ โทรศัพย์ 02-3548300 เพื่อรับคำปรึกษา