คนส่วนใหญ่ต่างก็เคยปวดบั้นเอวกันมาแล้วทั้งนั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่อย่างใด เพราะส่วนมากจะเป็นอยู่ไม่นานนัก อาการปวดหลังในทุกยุคทุกสมัยมาจนปัจจุบัน พบกว่าผู้ปวดหลังจำนวนมาก เกิดจากท่าทาง ที่เราทำให้แนวกระดูกหลังไม่อยุ่ในแนวตรง เช่นคุณนั่งเอียงไปด้านใดกระดูก ก็จะโดนกดทับอยู่ด้านเดียว หมอนรองกระดูกโดนกดทับอยู่ด้านเดียว เส้นเอ็นที่ยึดกระดูกไว้อีกด้าน ก็ตึงกล้ามเนื้อก็เกรง และเมื่อเป็นอย่างนี้บ่อยเข้า ก็เกิดการอักเสบและแสดงอาการปวดขึ้นมาที่หลัง ไปตรวจก็ไม่เจอจนกว่าอาการจะเข้าขั้นรุนแรง วิธีการที่จะลดการปวดหลังที่ง่ายที่สุดคือทำตัวไห้ตรง ทำได้หรือเปล่า คนเราทำได้ไม่กี่นาทีก็ลืมไปนั่งท่าเดิม ถ้าคุณทำให้ตัวตรงได้ ร่างกายก็กลับภาวะสมดุล ระบบเลือดก็ไหลวนได้อาการปวดก็ลดลงได้เองโดยไม่ต้องกินยาไห้มีผลกับไตและตับ

อาการปวดเอวด้านหลัง วิธีแก้ปวดเอว

ปวดหลัง ต้องระวัง อาจลุกลาม เป็นเงื้องอกหรือมะเร็ง

บางท่านปวดแป้บเดียวหาย บางท่านปวดเรื้อรัง ปวดแล้วปวดอีก ขยับไม่ได้เลย อาการปวดต้องระวัง นพ.ชัยวัฒน์ ไทรวัฒนพงศ์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี เคยพูดไว้ในรายการ Executive Healthcare ว่า ทำอะไรผิดท่าขึ้นมา อาจลุกลามไปเป็นมะเร็งได้ อาการปวดที่ค่อนข้างรุนแรง ควรรีบหาเวลาไปพบแพทย์ คือปวดแล้วลงไปตามแขนตามขา ตอนนอนก็ปวด ซึ่งอาจจะเป็นเนื้อองอกหรือมีเชื้อ

ช่วงอายุที่คนเรามักจะมีอาการ ช่วงอายุ 30-40 มักเป็นโรคหมอนรองกระดูก ช่วงอายุ 70-80 เป็นกลุ่มที่เสี่ยงเป็นเนื้องอก หรือติดเชื้อ หมอแนะนำ อย่านั่งนาน ให้เปลี่ยนอริยาบท เป็นยืนหรือเดิน ที่สำคัญ การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ

สาเหตุของการปวดบั้นเอว

  • ยกของไม่ถูกวิธี มารดาที่มักจะอุ้มลูกอยู่เสมอๆ มีโอกาสปวดบั้นเอวมากเป็นพิเศษ
  • ทรงตัว (ยืนหรือนั่ง) ไม่ถูกหลักกายภาพ
  • ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะใกล้คลอด
  • น้ำหนักตัวมากเกินไป, ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ
  • การบาดเจ็บที่ทำให้กล้ามเนื้อ เอ็นและเส้นเอ็นต่างๆ ในร่างกายที่เกี่ยวเนื่องกับกระดูกสันหลัง และการทรงตัวเกิดอาการตึงเครียด
  • หมอนรองกระดูกเสื่อม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่ลุกลามไปถึงขาหรือเท้า (เรียกวา สเคียติกา) ทำให้ขาอ่อนแอ หรือมีอาการซา หรือเกิดปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดี
  • ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด , เนื้องอกในกระดูกสันหลัง (ไม่ค่อยพบมากนัก)
  • ปัสสาวะลดน้อยลง, ปากหรือผิวหนังแห้ง, ริมฝีปากแตก

การหลีกเลี่ยงป้องกัน และวิธีแก้ปวดหลังปวดเอว

  • ใช้วิธีย่อตัวงไปหยิบของ แทนที่จะโน้มตัวลงไป
  • ยืนตัวให้ตรง หากต้องยืนนานๆ ให้เปลี่ยนน้ำหนักไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่งอยู่บ่อยๆ
  • นอนลงกับพื้นเมื่อโอกาสอำนวย เช่น ในระหว่างหยุดพักหรือหลังเลิกงาน
  • เดิน ขี่จักรยาน หรือออกำลังกาย ว่ายน้ำ หรือเดินในน้ำลึกระดับหน้าอก เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อขา และการทรงตัวยืนหลังพิงฝาผนัง ขยับขาทั้งสองยื่นไปข้างหน้า ประมาณหนึ่งฟุตครึ่ง ย่อตัวขึ้นลง เป็นการออกกำลังกายที่ดีมากสำหรับคนปวดหลัง
  • ถ้ามีอาการหนัก ปวดไม่หาย ควรรีบไปพบแพทย์