สอนลูกเรียนเก่ง ที่บ้าน วิธีแก้ไขลูกเรียนอ่อน

แนะนำเทคนิค วิธีทำอย่างไรให้ลูกเรียนเก่ง แก้ปัญหาลูกเรียนอ่อน ทั้งวิชาคณิตศาสตร์ (เลข), ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย บทความสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครอง

สอนลูกเรียนเก่ง ที่บ้าน วิธีแก้ไขลูกเรียนไม่เก่ง
ลูกต้องเรียนเก่งให้ได้ค่ะแม่

2. จัดสรรเวลาคุยกับลูกเรื่องเรียน ตอนอยู่บ้าน

คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองเด็ก ควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีเวลาที่แน่นอน ในการคุยกับลูกในเรื่องเรียน ของแต่ละวันหลังจากที่เขาเลิกเรียนกลับมาถึงบ้านแล้ว อาจจะเป็นหลังทานอาหาร หรือเวลาก่อนเข้านอน หรือเวลาใดก็ได้ที่ผู้ปกครองสะดวก เป็นตอนที่ผู้ใหญ่มีเวลาว่าง และเด็กก็มีเวลาว่าง เวลาที่ผมใช้กับหลานคือ เวลาที่หลานกลับมาจากโรงเรียนอาบน้ำ และกินขนมแล้ว (ใจจริงอยากให้เป็นเวลาก่อนกินขนมหรือผลไม้ แต่เด็กกลับมามักจะหิวเลยให้กินก่อน) เวลาคุยกับเด็กหลังเลิกเรียน ควรจะต้องทำทุกวันให้เป็นกิจวัตร ไม่ควรลืม

เริ่มนั่งคุยกับเด็ก อย่าลืมหยิบเอาสมุดบันทึกมาด้วย นั่ง่คุยกับเขาถามเขาว่าวันนี้ที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง เด็กทำอะไรผิดที่โรงเรียนหรือไม่ (ถ้าผิดก็สอนและอธิบายเรื่องนั้น และบอกลูกหลานเรา ว่าอย่าทำแบบนั้นอีก) , เด็กถูกเพื่อนรังแกหรือไม่ ก็ถามเรื่องทั่วๆไปครับ จากนั้นกลับมาถามเรื่องเรียนว่า วันนี้ที่โรงเรียนครูสอนวิชาอะไรบ้าง เรื่องอะไรบ้าง แล้วถามเขาว่าเขาเข้าใจที่ครูสอนหรือไม่ หากเขาไม่เข้าใจให้ดูเรื่องที่เขาไม่เข้าใจก่อน โดยเอาหนังสือของเด็กที่เอาไปโรงเรียนด้วย มาเปิดดู แล้วอธิบายจุดที่เด็กไม่เข้าใจ ให้เขาเข้าใจ จากนั้นให้เด็กจดลงสมุดบันทึก ในวิชาและเรื่องที่ที่ไม่เข้าใจและผู้ใหญ่ได้อธิบายให้เข้าใจแล้ว จดบันทึกแบบสั้นๆกระชับแต่ได้ใจความนะครับ เช่นการหารแบบมีเศษ อาจจะจดว่า ดูสูตรคูณตัวหาร ที่ใกล้ตัวตั้งที่สุด แต่น้อยกว่า

หากถามเด็กแล้วเขาตอบว่า วันนี้ที่ครูที่โรงเรียนสอน เขาเข้าใจหมดเลย ก็ให้หยิบเอาสมุด และหนังสือของวันนั้นมาเปิดดูกับเด็ก แล้วตั้งใจทย์ถามให้เด็กตอบ เพื่อทดสอบว่าเขาเข้าใจจริงๆ หากตอบถูกแสะว่าเข้าใจ แต่หากตอบผิดแสดงว่าเขาอาจจะไม่เข้าใจ ก็ให้อธิบายเรื่องนั้น อธิบายแล้วถามเขาว่าเข้าใจหรือไม่ หากเข้าใจแล้ว ลองตั้งโจทย์ใหม่ให้เด็กตอบ จนกว่าเขาจะตอบได้ถูกต้องจริงๆ เมื่อเขาตอบได้ก็ให้เด็กเขียนลงในสมุดบันทึกว่า วิชานี้เรื่องนี้เข้าใจแล้ว

นั่งคุยกับเด็กทุกวันที่เขาไปโรงเรียน ให้ทำแบบนี้ทุกวันที่ลูกหรือหลานเราไปโรงเรียน ตั้งแต่หลังเลิกเรียนวันจันทร์ – วันศุกร์ หากไม่เข้าใจก็อธิบายใหม่จนเข้าใจ และจดลงในสมุดบันทึก หากเข้าใจแล้วก็จดว่าเรื่องนั้นๆเด็กเข้าใจแล้ว


3. หมั่นคอยหาจังหวะถามโจทย์ให้เด็กตอบ

หลังจากที่ได้ ทำข้อ 2 ไปแล้ว ในเวลาว่างๆ อาจจะเป็นตอนเวลาพาลูกไปเที่ยว หรือพาเขาไปตลาด หรือเล่นอยู่บ้าน หรือเวลาว่างใดๆที่เหมาสะตอนที่เขาสบายๆมีความสุขอยู่ (ไม่ควรเป็นเวลาที่เขากำลังร้องไห้ หรือตอนกำลังเครียด เพราะจะทำให้เด็กได้รับความกดดัน) ตั้งโจทย์ถามปากเปล่าให้เด็กตอบปากเปล่า โจทย์ที่ถามก็เป็นเรื่องเรียนของเด็กในวันที่ผ่านๆมา

ทั้งเรื่องที่พวกเขาเคยไม่เข้าใจ และเข้าใจแล้ว อยากเช่นโจทย์วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องหารเศษส่วน ก็ลองตั้งโจทย์ให้เด็กตอบ จะช่วยให้เด็กรื้อฟื้นความจำ ไม่ลืมในเรื่องที่เรียน หากเขาตอบถูกก็มั่นใจได้ว่าเขาเข้าใจและไม่ลืม หากตอบผิดก็ให้อธิบายซ้ำ หรือหยิบเอาสมุดบันทึกที่เขาเคยเขียนมาดู ให้เด็กตอบโจทย์ที่ตั้งให้ได้ ข้อนี้จะตัวประเมิณการเรียนความรู้ และความเข้าใจของเด็กได้ อย่าลืมนะครับ ว่าต้องหมั่นหาจังหวะถามเขาต่อเนื่องเกือบทุกวัน อาจจะเป็นวันละครั้งหรือสองครั้งก็ได้


4. ติดตามและประเมินผล เลิกเรียน

ในวันหยุด แต่ละสัปดาห์ อาจจะเป็นวันเสาร์ หรือวันอาทิตย์ วันใดก็ได้ ให้พ่อแม่ผู้ปกครองทำการทดสอบลูกหลาน โดยการเขียนโจทย์ลงในกระดาษเปล่า โจทย์ที่เขียนลงไปนั้นเป็นเรื่องเรียนที่ผ่านมา ในแต่ละสัปดาห์ ประมาณ 5-6 ข้อ แล้วเอาให้เด็กของเราทำส่ง คิดว่าคงไม่ใช้เวลามากนัก โจทย์ที่ตั้งผู้ปกครองอาจจะตั้งเอาเอง

หรือหาจากหนังสือหรือตามเว็บไซต์ต่างๆที่มี หลังจากเด็กทำเสร็จแล้ว ตรวจดูที่เด็กทำ หวังว่าเขาจะทำถูกหมดนะครับ หากยังทำผิด ก็ให้ลูกหลานของเราหยิบเอาสมุดบันทึกที่เขาจดไว้มาดูเพื่อทำความเข้าใจใหม่