สาเหตุอาการของโรคกรดไหลย้อน

เกิดจากกรดในกระเพาะ ซึ่งกระเพาะของคนเรานั้นสร้างมาเพื่อปกกันกรดในกระเพาะอยู่แล้ว แต่ในหลอดอาหารนั้นซึ่งมีหน้าที่ บีบเพื่อให้อาหารลงไปในกระเพาะ และเมื่ออาหารลงไปในกระเพราะ กระเพาะอาหารก็จะปิดเพื่อไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นไป คนที่เป็นกรดไหลย้อน ซึ่งเกิดจากบริเวณหูรูด บริเวณรอยต่อระหว่างกระเพาะอาหารหลวม อาจจะหลวมชั่วคราวหรือหลวมถาวร ซึ่งเป็นเพราะกระบังลมมันหย่อนลง จึงทำให้กรดในกระเพาะย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ในขณะที่ยืนหรือนั่งอาจจะไม่ค่อยมีอาการกรดไหลย้อนหรือถ้าเรากินอาหารที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ หรือแม้ขณะที่กระเพาะมีการย่อยอาหารอาจจะมีการกระฉอกจนเกิดกรดไหลลย้อนได้เช่นเดียวกัน

หน้าที่ของกรดในกระเพาะอาหาร
กรดในกระเพาะอาหารนั้นเบื้องต้นต้นมีหน้าที่ฆ่าเชื้อโรคเพื่อไม่ให้เชื้อโรคผ่านเข้าไปในลำไส้เล็กเพื่อดูดซึม

ลักษณะอาการของโรคกรดไหลย้อน

1.แสบร้อนกลางหน้าอก
2.จุกแน่นหน้าอก เลอเบื่อ
3.ขมคอ จุกแน่นคอ เลอเปรี้ยว

กรดไหลย้อนสามารถเกิดภายนอกหลอดอาหาร

กรดไหลย้อนภายนอกหลอดอาหาร เช่น ไอเรื้อรัง หูอักเสบ หูชั้นในอักเสบ หรือไซนัส เป็นต้น โรคเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปแล้วไปกระตุ้นในปอดเนื่องจากหลอดอาหารเมื่อถึงช่วงลำคอจะมีหลอดอาหารและหลอดลมบางทีกรดอาจจะย้อนขึ้นไปในหลอดลมได้

กรดไหลย้อนโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่

1.การอักเสบหรือมีแผลบริเวณหูรูด รอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกะเพาะ จะเกิดขึ้นเมื่อกรดไหลย้อนขึ้นไปกัดในหลอดอาหาร แต่พบไม่บ่อยนัก
2.ชนิดที่ไม่เป็นแผล แต่กรดจะไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารจนทำให้เกิดการกระตุ้น

การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

1.งดการสูบบหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ
2.ลดอาหารมัน ของทอด ของหวาน
3.รับประทานอาหารให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
4.ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี

แนะนำการรักษากรดไหลย้อน

ปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน การรักษาวิธีนี้มีความสำคัญมากโดยจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ส่วนบนมากขึ้น ที่สำคัญการรักษาด้วยวิธีนี้ควรทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหรือหายดีแล้วโดยไม่ต้องรับประทานยาแล้วก็ตาม